วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สมุนไพรฤทธิ์เย็นสำหรับทำน้ำคลอโรฟิล์สด ฤทธิ์เย็น















โสมไทย

น้ำสมุนไพรฤทธิ์ร้อน


น้ำสมุนไพรสดฤทธิ์เย็น



ฟังบรรยาย  ยาเม็ดที่ 1 การดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล
https://www.youtube.com/watch?v=t60bR3y5JX8&hd=1

 


สาธิตการทำน้ำคลอโรฟิลล์
http://www.youtube.com/watch?v=0TyF9brxkQM
















ข้อควรระวังในการดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล

1. ให้เลือกสมุนไพรดื่มที่เข้ากับสภาพร่างกายของเรา ณ เวลานั้น ๆ เพื่อปรับสมดุล
2. เลือกชนิดสมุนไพรที่กินแล้วถูกกับร่างกาย
3. ปรับความเข้มข้นของน้ำให้เหมาะสมกับร่างกาย สังเกตุคือ ดื่มแล้วไม่ฝืดปากฝืดคอ

                   เจือจาง                     เข้มข้น
4. ปริมาณที่ดื่ม เท่าที่รู้สึกสบายดื่มในช่วงท้องว่าง
5. อุณหภูมิน้ำที่ดื่ม ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ณ เวลานั้น

ยาเม็ดที่ 1 การดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล

 
 
 
 
กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน  
ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือที่เรียกว่า
 น้ำคลอโรฟิลด์สดจากธรรมชาติ/น้ำเขียว/น้ำ้ย่านาง  
 
วิธีทำ ใช้ สมุนไพรฤทธฺ์เย็น เช่น
 - ใบย่านางเขียว 5-20 ใบ 
 - ใบเตย 1-3 ใบ - บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ 
 - หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น 
 - ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง-1 กำมือ 
 - ผักบุ้ง ครึ่ง-1 กำมือ 
  - ใบเสลดพังพอน ครึ่ง-1 กำมือ 
  - หยวกกล้วย ครึ่ง-1 คืบ 
  - ว่านกาบหอย 3-5 ใบ เป็นต้น 
    จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ โขลกให้ละเอียดหรือ ขยี้ผสมกับน้ำเปล่า 1-3 แก้ว (บางครั้งอาจผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว น้ำมะขาม ในรสไม่จัดเกินไป เพื่อทำให้ดื่มได้ง่ายในบางคน) กรองผ่านกระชอน เอาน้ำที่ได้มาดื่ม ครั้งละประมาณ ครึ่ง-1 แก้ว วันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือ ตอนท้องว่างหรือดื่มแทนน้ำตอนที่รู้สึก กระหายน้ำปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพร อาจมากหรือ น้อยกว่านี้ก็ได้ ตามความต้องการของร่างกาย ณ เวลานั้น ๆ โดยดูความ พอดีได้จาก ความรู้สึกที่กลืนง่าย ไม่ฝืดไม่ฝืนไม่พะอืดพะอมและความสบายตัว กรณีที่ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดแล้วรู้สึกไม่สบาย  ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือนำไปต้มให้เดือด ก่อนดื่ม หรืออาจนำสมุนไพรฤทธ์ร้อนมาผสมก่อนดื่มก็ได้ เช่น นำน้ำต้มขมิ้น/ขิง/ตะไคร้ มาผสม เป็นต้น หรืออาจดื่่มสมุนไพรฤทธิ์ร้อนอย่างเดียวก็ได้ ถ้าดื่มแล้วรู้สึกสบาย
            กลไกการถอนพิษจากร่างกายด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็นคือร่างกายถูกทำลายจากความร้อน ด้วยสาเหตุหลัก 5 ประการ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ เมื่เรารับประทานสมุนไพรฤทธิ์เย็นเข่้าไปตามหลักวิทยาศาสตร์ พิษร้อนในร่างกายก็จะแผ่มาที่สมุนไพรฤทธิ์เย็นและความเย็นจากสมุนไพรก็จะแผ่ ไปที่เซลล์เนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้เส้นประสาทและเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายที่ถูกเผาจนปวดแสบปวดร้อน ตึงแข็ง (เหมือนเนื้อนิ่ม ๆ ที่ถูกต้มหรือย่างจนแข็ง) ผิดรูปไปจากปกติ เมื่อถูกเผามาก ๆ ก็จะผุพัง ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จึงเกิดโรคภัยต่าง ๆ นั้นเริ่มเย็นลง 
            เมื่อร่างกายเย็นลง ไม่มีความร้อนที่มากเกินเผาทำลาย เส้นประสาทก็ไม่ปวด ไม่แสบไม่ร้อน เซลล์เนื้อเยื่อก็ไม่ถูกทำลาย เซลล์เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อก็คลายตัวเข้าสู่ภาวะปกติ เม็ดเลือดขาวก็แข็งแรง เพราะไม่ถูกความร้อนเผาทำร้าย จึงสามารถทำหน้าที่ขบวนการฟาโกไซโตซีสได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเม็ดเลือดขาวไปโอบเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมและเซลล์ที่หมดสภาพหรือผิดปกติในร่างกาย แล้วหลั่งเอ็มไซม์(น้ำย่อย)ออกมาย่อยสลาย จากนั้นก็ขับออกจากร่างกายทางช่องระบายของเสีย ทำให้โรคภัยไข้เจ็บลดน้อยลงหรือหายไป
            เซลล์เนื้อเยื่อที่มีอยู่เดิมและเซลล์เนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อซ่อม แซมส่วนที่สึกหรอก็จะแข็งแรงคงทน เพราะมีความเย็นคุ้มครอง ไม่ถูกเผา ทำลายจากความร้อนที่มากเกิน เป็นการแก้ไขปัญหาด้วยกาารปรับสมดุลถอนพิษที่ต้นเหตุ ซึ่งต่างจากการกินยาเคมีที่ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เพียงไปกดระบบประสาทไม่ให้รับ รู้ว่้าร่างกายมีสารพิษ หรือสารพิษถูกกดไว้ที่ใดที่หนึ่งของร่างกาย การกินยาเคมีจึงมักเกิดผลข้างเคียงและโรคแทรกซ้อนตามมามากมาย จากพิษของยาและพิษของโรคที่ขังไว้ใน
ร่างกาย โดยที่พิษนั้นไม่ได้ถูกสลายหรือขับออก  

กรณีที่มีภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน
         ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือนำไปต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรืออาจนำสมุนไพรฤทธิ์ร้อนมาผสมก่อนดื่มก็ได้ เช่น น้ำต้มขมิ้น น้ำต้มขิง ตะไคร้ กระชาย กระเพราะมาผสม เป็นต้น

กรณีที่มีภาวะเย็นเกินอย่างเดียว
         ให้งดสมุนไพรฤทธิ์เย็น รับประทานสมุนไพรฤทธิ์ร้อนในปริมาณที่สมดุลพอดี อาจรับประทานสด แห้งหรือนำไปต้มก็ได้เพื่อแก้ภาวะเย็นเกิน เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย กระเพรา พริก พริกไทย กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศ พืชที่มีกลิ่นฉุนหรือมีรสเผ็ด เป็นต้น


ที่มา ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)